Tag: 90ปี

เหรียญหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว รุ่นที่ ๕ ปี๒๕๑๘

(คัดลอกจากเวป ภาพด้านบนเหรียญของผมเองสวยมาก)

เหรียญรุ่นที่ห้า เหรียญรุ่นที่ห้าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ คือปีถัดมาจากเหรียญรุ่นที่สี่ เนื่องในโอกาสทำบุญอายุครบ ๙๐ ปี เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ หน้าตรงห่มพาดสังฆาฏิ มีลวดลายขอบเหรียญสองชั้น ชั้นในเป็นเม็ดไข่ปลาเล็ก ๆ ชั้นนอกเป็นกนก ด้านหลังเป็นยันต์ “นะโมพุทธายะ” แบบพุทธซ้อนแล้วมีอักษรไทยเขียนรอยยันต์อ่านว่า “พระพุทธวิถีนายกเพิ่ม ปุญญวสโน อายุ ๙๐ ปี วัดกลางบางแก้ว” ตรงกลางระหว่างอักษรมีดอกจันทร์แบบขีด ขอบเหรียญเป็นเส้นลวดด้านในมีจุดไข่ปลา รอบนอกด้านบนตรงกลางมีตัวเลขไทยเป็นเลข “๑” และด้านล่างกึ่งกลางเป็นตัวเลข “๘” ซึ่งหมายถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นั่นเอง เหรียญรุ่นนี้แกะแม่พิมพ์โดยนายช่างสนั่น ผู้เขียนจำนามสกุลไม่ได้เสียแล้ว โรงงานอยู่ข้างวัดเครือวัลย์ ธนบุรี ช่างสนั่นผู้นี้มีฝีมือดีมาก เป็นช่างเก่าแก่คนหนึ่ง เคยแกะเหรียญดัง ๆ มาหลายเหรียญที่จำได้ก็มีเหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม รุ่นแรกเป็นต้น ดังนั้น เหรียญรุ่นนี้นับว่ามีฝีมือการแกะงดงามมากเหรียญหนึ่ง จำนวนเหรียญที่สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำจำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ เงิน ๑๐๐ เหรียญ รุ่นนี้มีจำนวนมาก เมื่อนำไปให้หลวงปู่ปลุกเสก ท่านจะลงจารแต่ปรากฏว่าสายตาท่านเริ่มไม่ดีแล้ว เพราะขณะนั้นอายุ ๙๐ ปี และจำนวนเหรียญก็มาก ท่านจึงไม่ได้ลงเหล็กจารเพียงแต่ ปลุกเสกให้นานนับเดือนจนท่านบอกว่าใช้ได้ เหมือนกับลงเหล็กจารทีละเหรียญ

นอกจากเหรียญรูปเหมือนแล้วในปีนี้พระปลัดใบ คุณวีโร ยังได้สร้างพระทรงเครื่องแบบสมัยอยุธยา โดยจำลองจากพระไม้แกะเก่าแก่ของวัดแล้วให้อาจารย์อวบ สาณะเสน เป็นผู้ออกแบบลายซุ้มแม่พิมพ์ แล้วพิมพ์ลงในแผ่นทองแดงเป็นพระแบบไม่มีห่วงจำนวน ๒,๐๐๐ องค์ นำให้หลวงปู่ปลุกเสกพร้อมกับเหรียญรูปเหมือน ด้านหลังขององค์พระเป็นยันต์ “เฑาะว์ขึ้นยอด” แล้วมีอักษรไทยเขียนว่า “หลวงปู่เพิ่ม อายุ ๙๐ ปี ว.ก.” คำว่า “ว.ก.” หมายถึงวัดกลางบางแก้ว ทั้งเหรียญเนื้อทองแดงรมดำและเงิน ตลอดจนพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบอยุธยาดังกล่าว ขณะนี้ทางวัดยังมีเหลือให้ทำบุญอยู่เล็กน้อย นอกจากเหรียญรูปไข่หลวงปู่เพิ่มรุ่นที่ห้า และพระทรงเครื่องแบบอยุธยาดัง กล่าวแล้ว ในปีนี้ยังมีการหล่อเหรียญรูปพระพุทธขึ้นอีก 2 แบบด้วยกัน เหตุที่เป็นเหรียญรูปพระพุทธซึ่งสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงขอจัดรวมไว้ในการลำดับเหรียญหลวงปู่รุ่นที่ห้ารวมไว้ด้วย การจัดเหรียญลำดับรุ่นขอยึดเอารูปหลวงปู่เป็นหลัก หากไม่ใช่รูปหลวงปู่เพิ่มก็จะจัดรวมไว้ในรุ่นเดียว กับเหรียญรูปหลวงปู่เป็น เกณฑ์สำคัญ เช่นเดียวกับเหรียญรูปพระพุทธรูปเชียงแสน หรือ “สัมพุทธมหามุนีฯ” และเหรียญรูปพระพุทธชินราช ทั้งสองเหรียญนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงขอนำมากล่าวถึงไว้ในส่วนนี้ เหรียญพระพุทธชินราช ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นี้ ทางวัดกลางบางแก้วมิได้สร้างเอง แต่พระมหาบุญเลิศ ปริปุณโณ พระภิกษุภายในวัดกลางบางแก้วรูปหนึ่ง ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อตะกั่ว เป็นผู้สร้างขึ้นถวายให้หลวงปู่แจกฟรี จำนวนผู้เขียนจำไม่ได้แน่นอนว่าจะเป็น ๑,๐๐๐ เหรียญ หรือเท่าใดยังไม่แน่นัก ลักษณะเหรียญเป็นรูปเสมาคล้ายเหรียญชินราชของหลวงปู่บุญ แต่ฝีมือการแกะแตกต่างกันมาก ด้านหน้าเหรียญเป็นองค์พระพุทธชินราช มีอักษรขอมเขียนด้านบนอ่านได้ว่า “พุทโธ” ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์สี่อ่านได้ว่า “นะ มะ พะ ทะ” ตรงมุมทั้งสี่ของยันต์ และตรงกลาง อ่านได้ว่า “อะ ระ หัง” และ “อัง อึ อะ” ขอบสุดท้ายด้านบนมีอักษรขอมอ่านได้ว่า “พ พ พ” หมายถึง “เพิ่ม พงษ์อัมพร” อันเป็นชื่อและนามสกุลเดิมของหลวงปู่ บรรทัดถัดมาอ่านว่า “พุทธะสังมิ” และสองบรรทัดใต้ยันต์อ่านได้ว่า “อิ สวา สุ” “ปุญญวสโน” เนื้อเหรียญเป็นเหรียญทองแดงไม่มีกะไหล่หรือรมดำ และเนื้อนวโลหะอีกจำนวนหนึ่งแต่ไม่มากนัก (ขณะนี้เหลือให้ทำบุญอยู่เล็กน้อย) ขณะแจกได้มีคาถาพิมพ์แจกคู่ กับเหรียญด้วยคาถาดังกล่าวเป็นคาถาอาราธนาและพระ พุทธชินราชของหลวงปู่เพิ่มมีความว่า “กาเยน วาจาย เจตสา วา ชินราชพุทธะ รูปัง สิริธัมมะติปัฏกราเชน กะตัง นะมาหัง สัพพะ โสตถี ภวันตุเม” ขณะนี้เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมสูงเพราะ เมื่อหลวงปู่แจกหมดไปแล้วก็มี ประสบการณ์กับผู้นำเหรียญไปบูชา จำนวนมากรายและปัจจุบันค่อนข้างจะหาได้ยาก “เหรียญพระสัมพุทธมหามุนี พุทธวิถีนายกปุญญวสนนิมมิต” เป็นรูปพระพุทธรูปเชียงแสน ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดมาตรฐานเนื้อทองแดงรมดำ ด้านหน้าเหรียญเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่งประทับนั่งแบบมารวิชัยบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระประจำตัวของหลวงปู่เพิ่ม ซึ่งหลวงปู่เพิ่มได้ทำพิธีหล่อเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เนื่องจากหลวงปู่ได้เศียรพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เป็นสัมฤทธิ์เก่าและเป็นของ สมัยเชียงแสนแท้มาจากนายตำรวจท่านหนึ่งมีลักษณะพระพักตร์งดงามมาก จึงได้ทำการหล่อองค์ขึ้นมาให้เข้ากับลักษณะของพระเศียร โดยทำพิธีหล่อเมื่อปี พ.ศ. 2490 แล้วนิมนต์พระศรีสัจจาญาณมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่บุญ และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ มาร่วมทำพิธีด้วย พระดังกล่าวมีขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้วฟุต เหรียญนี้ผู้เขียนเข้าใจว่าจะจำลองรูป “พระสัมพุทธมหามุนีพุทธวิถีนายกปุญญวสนนิมมิต” มาทำเป็นเหรียญก็ได้ ใต้รูปองค์พระด้านหน้าเหรียญมีอักษรเป็นตัวเลขไทยเขียนว่า “2518” ซึ่งหมายถึงปี พ.ศ. ที่สร้างเหรียญ ส่วนด้านหลังเหรียญมีอักษรเขียนโค้งตามแนวขอบเหรียญด้านล่างว่า “พระพุทธวิถีนายก เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว” เท่านั้น ไม่มีอักขระเลขยันต์ใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะนี้ยังสืบหาคนสร้างถวายไม่ได้ จำนวนสร้างจึงไม่ทราบว่าเท่าใดแน่นอน เหรียญนี้เป็นบล็อกเงินหูมีขีด นิยมสร้างน้อยหายากมาก เหรียญสวยผิวไฟเดิมๆขึ้นผิวรุ้งทั้งเหรียญ